วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

โครงงานกระดาษรีไซเคิล

ชื่อโครงงาน

กระดาษรีไซเคิล

    ผู้จัดทำโครงงาน 

                                        นางสาวชัญญา            ธวิตอังกูร           เลขที่   5      
                                        นางสาวเกศรา             มูลมั่ง                 เลขที่   8        
                                        นายชิงชัย                    แซ่ย่าง               เลขที่   9      
                                        นางสาวปริฉัตร            ประกายเพชร      เลขที่  18     
                                        นางสาวนิลาวัณย์         สุทธา                เลขที่  15     
                                        นางสาวมัลทิกา            เร็วงาม              เลขที่   20


    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8 


      คุณครูที่ปรึกษาโครงงาน    



    คุณครูปาริชาติ  สุทธิเวทย์


    คุณครูที่ปรึกษาร่วมโครงงาน

                                              
    คุณครูลัดดา  จางสาย 

     ภาคเรียนที่ 1 ปีการการศึกษา 2553
    โรงเรียน นวมินทราชูทิศ พายัพ
    ตำบล ดอนแก้ว อำเภอ แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 50180



    ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

    เนื่องด้วยในปัจจุบันการผลิตกระดาษชนิดต่างๆล้วนแล้วแต่มีการนำเยื่อไม้มาเป็นส่วนประกอบที่สำคัญต่อกระบวนการสร้างกระดาษและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ออกสู่ท้องตลอดมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งจากกระบวนการผลิตดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศในแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของธรรมชาติ เพราะการนำเยื่อไม้มาผลิตเป็นกระดาษนั้น จำเป็นที่จะต้องตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งถือเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญยิ่ง และเพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ คณะผู้จัดทำจึงศึกษาค้นคว้ากระบวนการและขั้นตอนในการนำกระดาษเหลือใช้หรือกระดาษรีไซเคิลมาประยุกต์ใช้ใหม่ได้อีกครั้ง
    ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่กระดาษรีไซเคิลดังกล่าว ผู้จัดทำจึงคิดค้นลวดลายประยุกต์ในรูปแบบใหม่เพื่อนำไปตกแต่งและวาดลายลงไปในกระดาษรีไซเคิล รวมไปถึงการนำประโยชน์จากกระดาษรีไซเคิลที่ได้จากการวาดลายเรียบร้อยแล้วนั้น นำไปสร้างผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เช่น ที่คั่นหนังสือ กรอบรูป และกล่องจากกระดาษรีไซเคิล เป็นต้น
    ซึ่งการพัฒนาและดัดแปลงรูปแบบผลิตภัณฑ์ดังกล่าวถือเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ คณะผู้จัดทำเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเผยแพร่ขั้นตอนการทำกระดาษรีไซเคิล จึงได้เผยแพร่ข้อมูลเป็นภาษาฝรั่งเศส โดยการนำความรู้จากการเรียนในรายวิชา ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการท่องเที่ยว และการใช้ทักษะภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารในการแปลข้อมูลที่เกี่ยวข้องดังกล่าวให้แก่ผู้ที่สนใจสืบทอดเพื่อนำไปประกอบวิชาชีพต่อไปในอนาคต


     
    วัตถุประสงค์

    1.       เพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษรีไซเคิลมานำ เสนอเป็นภาษาไทย
              และภาษาฝรั่งเศส เผยแพร่สู่ชุมชนโลกผ่านทาง http://www.kruparichart.blogspot.com
    2.       เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสาร
    3.       เพื่อคิดค้นวิธีการเพิ่มมูลค่าของกระดาษรีไซเคิล โดยนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาประยุกต์
              ให้ทันต่อยุคสมัย

    สมมติฐาน

         ผู้จัดทำมีการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารมากยิ่งขึ้น ตามศักยภาพของตนเอง


    ขอบเขตการศึกษา

                                              ศึกษาวิธีการทำกระดาษโดยใช้กระดาษรีไซเคิล


    ขั้นตอนการดำเนินงาน

    ขั้นเตรียมงาน

    1.       ประชุมกลุ่มทำงานเพื่อลงความคิดเห็นเลือกหัวข้อของโครงงานที่ให้ความสนใจ
    2.       หาข้อสรุปและให้เหตุผลในการตัดสินใจเลือกหัวข้อโครงงานดังกล่าวเป็นกรณีศึกษา
    3.       ประชุมเพื่อมอบหมายงานแก่สมาชิกในกลุ่ม
    4.       จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการศึกษา รวบรวมและสำรวจข้อมูลในเบื้องต้น
    5.       ประชุมเพื่อกำหนดวันและเวลาในการสำรวจ รวมไปถึงเส้นทางในการเดินทาง
              เพื่อเตรียมความพร้อมในการลงสำรวจและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งพื้นที่จริง
    6.       จัดทำจดหมายขอความอนุเคราะห์วิทยากรผู้ให้ความรู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง
              กับการทำโครงงาน


     ขั้นปฏิบัติงาน

    1.       หาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหัวข้อโครงงานที่จะศึกษาทางอินเตอร์เน็ตและสื่อที่เกี่ยวข้อง
    2.       นำจดหมายดังกล่าวมอบให้แก่วิทยากรเพื่อพิจารณาให้ความอนุเคราะห์
              พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลในเบื้องต้นให้ทราบ
    3.       เดินทางไปยังแหล่งเรียนรู้ดังกล่าวเพื่อสำรวจและรวบรวมข้อมูลพร้อมกับ
              ถ่ายภาพประกอบกิจกรรม
    4.       พบวิทยากรผู้ให้ความรู้และคำแนะนำที่มีประโยชน์ต่อการทำโครงงาน
    5.       จดบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการทำโครงงานเพื่อเป็นหลักฐาน
              ต่อการศึกษาในเบื้องต้น
    6.       มอบหมายงานในการแปลข้อมูลจากภาษาไทยให้เป็นภาษาฝรั่งเศสเพื่อ
              ให้พร้อมต่อการนำเสนอ
    7.       รายงานความก้าวหน้าต่อคุณครูปาริชาติ สุทธิเวทย์ เพื่อตรวจสอบข้อมูลและ
             ให้คำแนะนำแก้ไข
      

    ขั้นสรุปผล

    1.       นำข้อมูลที่ได้รับมาวิเคราะห์และแยกแยะองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน
    2.       เรียบเรียงข้อมูลใหม่เพื่อให้พร้อมแก่การนำเสนอ
    -          การนำเสนอ
    -          นำเสนอวิธีการทำบน Blog ( http://papier-recycle.blogspot.com/ )
    -          จัดทำรูปเล่มโครงงาน
    -          จัดทำแผ่นพับโครงงาน
    3.       นำข้อมูลที่ได้ให้ครูปาริชาติ  สุทธิเวทย์ตรวจสอบเพื่อแนะนำและแก้ไข


    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1.       นักเรียนทราบถึงขั้นตอนการนำกระดาษรีไซเคิลมาสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์
              จากกระดาษรีไซเคิล
    2.       นักเรียนสามารถใช้ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารได้
    3.       นักเรียนสามารถเผยแพร่วิธีการนำกระดาษรีไซเคิลมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ 
    4.       นักเรียนมีส่วนในการช่วยลดการใช้วัสดุจากธรรมชาติโดยการนำกระดาษรีไซเคิล
              มาทดแทนได้

     ระยะเวลาในการดำเนินงาน
    2 สิงหาคม 2553 – 14 กันยายน 2553





                                        แหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง 



                                                     1. แหล่งเรียนรู้ที่เป็นบุคคล 



                                                      นางสุดารัตน์  อภิโชติกร




    2. แหล่งเรียนรู้ที่เป็นสถานที่
     

    - โรงงานสุดารัตน์กระดาษสา 95/2 ม.1 ต.ต้นเปา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ 50130

    - ห้องสมุดโรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัำพ
    - 56/1 ม.6 ต.เหมืองแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 50180 (บ้านนางสาวนิลาวัณย์ สุทธา)



    3. แหล่งเรียนรู้ที่เป็นเว็บไซค์

    พรพรรณ ไวทยางกูร.การทำกระดาษรีไซเคิล. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://pirun.ku.ac.th/~g4886060/project/project3.htm  (วันที่ค้นข้อมูล : 9 สิงหาคม 2553).

    ด.ญ. วรรณวิไล เทพวงษ์.กระดาษสาจากใบเตยหอม. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.chaiwbi.com/2552student/project_mean2551/index.html
    (วันที่ค้นข้อมูล : 9 สิงหาคม 2553).

    นางสาวนิตยา   คำอินต๊ะมูล.กระดาษสา. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.dsc.ac.th/inweb/student_job/sa_paper/index.htm
    (วันที่ค้นข้อมูล : 9 สิงหาคม 2553).

    กรมส่งเสริมการเกษตร.  การทำกระดาษสาด้วยมือ. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.dei.ac.th/index/content/recipe_002.html
    (วันที่ค้นข้อมูล : 9 สิงหาคม 2553).

    ไสว ฟักขาว.กว่าจะเป็นกระดาษสา. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://sps.lpru.ac.th/script/show_article.pl?mag_id=1&group_id=3&article_id=29&by_pass=
    (วันที่ค้นข้อมูล : 9 สิงหาคม 2553).
     

    4. เอกสารอ้างอิง

     สมบูรณ์ ประเสริฐสุข.  "กล่องแบบที่ 5"  ใน Gift Boxes. หน้า 47-49.  ปรีดา เหตระกูล, บรรณาธิการ.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ แม่บ้าน, 2541.

    กันยารัตน์,อาพร ดาวโรฤทธิ์.  "พับกล่อง"  ใน งานฝีมือ . หน้า 134.   กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
    บริษัท ศรีสยามการพิมพ์ จำกัด, 2553.